ยินดีต้อนรับเข้าสู่พลศึกษา Information and Communication Technology for Teachers

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

                                                  หลักการสอนพลศึกษา

                           หลักการสอนพลศึกษา
                สำหรับการสอนวิชาพลศึกษานั้นมีความมุ่งหมายเฉพาะที่สามารถมองเห็นได้เด่นชัด ดังต่อไปนี้
      1.  เพื่อให้มีสมรรถภาพและสุขภาพของร่างกายดีขึ้น รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งสุขภาพ นับว่า
สำคัญและเป็นหัวใจของการสอนพลศึกษาเพราะการศึกษาแขนงอื่นมีส่วนบกพร่องทางด้านนี้ วิชาพลศึกษาเท่านั้นมีบทบาทที่จะเสริมสมรรถภาพ
2     2. เพื่อให้มีทักษะในกิจกรรมทางด้านพลศึกษาและสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ได้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากวิชาพลศึกษาอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ทางกายเป็นสื่อ ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องสร้างทักษะเสียก่อนให้เพียงพอ เพื่อจะได้นำทักษะอันเป็นพื้นฐานของกิจกรรมไปใช้
       3.  ให้มีความรู้ความเช้าใจในด้านต่าง ๆ เป็นต้นว่า ความรู้ความด้านคุณค่าของวิชา
พลศึกษาประโยชน์ของกิจกรรมประเภทต่าง ๆ
4.       เพื่อให้มีคุณลักษณะต่าง ๆ ประจำตัว คุณลักษณะดังกล่าวนี้ครอบคลุมไปทุก ๆ ด้าน
ซึ่งเชื่อว่ากิจกรรมทางพลศึกษาจะมีส่วนช่วยและส่งเสริมได้
5.       เพื่อให้มีสุขนิสัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม โดยทั่วไปแล้วถือว่าวิชา
พลศึกษาเป็นวิชาสุขศึกษาภาคปฏิบัติ เพราะในการเรียนวิชาพลศึกษาต้องอาศัยการปฏิบัติเป็นหลัก ฉะนั้นการสอนวิชาพลศึกษาจึงต้องเน้นในเรื่องสุขนิสัยด้วย
                                                       การสอนเทคนิคพื้นฐานในการเล่นวอลเลย์บอล การรับลูกตบ

                              ขั้นตอนการสอนทักษะการรับลูกตบ
 ขั้นตอนที่ 11111 ท่าทางการเตรียมรับลูกตบ



จุดสำคัญในการสอน :  
  • ท่าทางพื้นฐานการรับลูกตบ
  • แขนเหยียดตึงแต่ไม่เกร็ง
  • ก้าวเท้า 1 ก้าวเพื่อเล่นลูกบอล
  • สัมผัสบอลด้วยแขนทั้ง 2 ข้าง
ขั้นตอนที่ 2 การรับลูกตบด้านหน้า






จุดสำคัญในการสอน  รับบอลขณะที่บอลลอยพุ่งระดับหัวเข่า ระหว่างเข่าทั้ง 2 ข้าง
ขั้นตอนที่ 3 การย่อตัวต่ำรับลูกตบที่พุ่งมาต่ำ และการพุ่งรับลูกบอล
 










จุดสำคัญในการสอน  ย่อตัวต่ำ เคลื่อนที่ไปข้างหน้าและเหยียดแขนทั้ง 2 ข้างไปใต้ลูกบอล
                            ขั้นตอนที่ 4 เคลื่อนที่เฉียง 45 องศารับลูกตบ

                                                             จุดสำคัญในการสอน :  เคลื่อนที่ 2-3 ก้าว

                     ขั้นตอนที่ 5555555555 เคลื่อนที่เฉียง 45 องศารับลูกตบที่พุ่งมาต่ำ

                       จุดสำคัญในการสอน  เคลื่อนที่มากกว่า 3 ก้าว ใช้การเคลื่อนที่แบบไขว้เท้า และหยุดก่อนที่จะรับลูกตบ
                             ขั้นตอนที่ 6 การรับลูกตบระดับหน้าอก

จุดสำคัญในการสอน :  ยืดตัวขึ้นเพื่อรับลูกตบ จุดสัมผัสลูกบอลอยู่ต่ำกว่าระหว่างข้อศอกทั้ง 2 ข้าง เล็กน้อย
                                ขั้นตอนที่ 7 การรับลูกตบระดับหัวไหล่ด้านข้าง

                จุดสำคัญในการสอน : การใช้แขนสัมผัสบอลแขนด้านนอกสูงกว่าด้านในเล็กน้อย
                                                            ขั้นตอนที่ 8 การรับลูกตบระดับศีรษะ


                                                จุดสำคัญในการสอน :  สายตาจ้องที่ลูกบอล
                                 ขั้นตอนที่ 9 การฝึกปฏิกิริยาการรับลูกตบ

วิธีการฝึก : ให้ผู้เล่นที่ฝึกรอรับบอลโดยหันหน้าเข้าหากำแพง ผู้ฝึกสอนอยู่ด้านหลังผู้ฝึกห่างจากกำแพง 3-4 เมตร ผู้ฝึกสอนตบบอลใส่กำแพงทิศทางและระดับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ฝึกรับบอลที่กระดอนจากกำแพงให้ได้ เพื่อให้ผู้ฝึกเกิดปฏิกิริยาในการรับบอล
จุดสำคัญในการสอน :  สร้างปฏิกิริยาที่รวดเร็วในการรับบอล
  





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น